ความเป็นมาของตรีโกณมิติ

        เมื่อ 640-546 ปี ก่อนครีสต์ศักราช ทาเรส (thales)คำนวณ
    หาความสูง ของพีรามิด ในประเทศอียิปต์โดยอาศัยเงา วิธีหนึ่งที่ทาเรสใช้คือ
    คำนวณความสูงของพีรามิดจากความยาวของเงาของพีรามิด  ในขณะที่เงา
    ของเขามีความยาวเท่ากับความสูงของเขาเอง   อีกวิธีหนึ่งที่ทาเรสใช้คำนวณ
    ความสูงของพีรามิดคือ  การเปรียบเทียบความยาวของเงาของพีรามิดกับความ
    ยาวของเงาของไม้(ไม้ที่ทราบความยาว ถ้าสมัยนี้ก็คือไม้เมตรนั่นเอง)  โดย
    อาศัยรูปสามเหลี่ยมคล้าย   ซึ่งก็คือ  อัตราส่วนตรีโกณมิติที่เรียกว่า แทนเจนต์
  (tangent)  นั่นเอง  ก่อนจะไปศึกษาควรรู้จัก สมบัติของสามเหลี่ยมมุมฉากก่อน


สมบัติของสามเหลี่ยมมุมฉาก
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (right, right-angled, rectangled) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาด 90° (มุมฉาก) ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากเรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยมอีกสองด้านเรียกว่า 
ด้านประกอบมุมฉาก ความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากสัมพันธ์กันตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส นั่นคือกำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก c จะเท่ากับผลบวกของกำลังสองของด้านประกอบมุมฉาก a, b เขียนอย่างย่อเป็น